วันศุกร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2551

โดเมนเนม

ส่งงานแล้ว อิ อิ อิ
1. โดเมนเนมคืออะไร ?
เป็นคำถามที่ผู้ที่เล่นเน็ตเป็นประจำอาจจะหัวเราะได้ แต่ฉํนเชื่อว่าน่าจะมีหลายๆ คน ที่ยังสับสนระหว่างโดเมนเนม กับ url ว่ามันเหมือนหรือต่างกันอย่างไร แต่สำหรับผู้เริ่มต้นสนใจคอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ต ฉันว่าควรศึกษาเนื้อหา เรื่องราวกับเรื่องพวกนี้นะค่ะ เวลาเรียกจะได้ไม่สับสน เกิดความเข้าใจ น่าสนใจนะค่ะ
รู้จัก IP Address ก่อนนะค่ะคอมพิวเตอร์ที่ใช้โปรโตคอล TCP/IP จะมีหมายเลขประจำเครื่องที่ไม่ซ้ำกับเครื่องใดในโลก เราเรียกหมายเลขพวกนี้ว่า IP Address นั่นเอง IP Address จะมีอยู่เลขเดียวในโลกไม่ซ้ำกับใคร ซึ่งไอพีแอดเดรสจะอยู่ในรูปของตัวเลข 4 ชุด ที่มีจุดคั่น เช่น 203.121.2.5 เป็นต้น ซึ่งเจ้า IP Address นี่เอง ที่จะทำให้คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อในเครือข่ายอินเตอร์เน็ตรู้ใครเป็นใคร โดยสามารถรู้ได้ว่าคอมพิวเตอร์นี้ตั้งอยู่ที่ไหน ของใคร ซึ่งหากมีการกระทำความผิดบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เช่น การเผยแพร่ ข้อมูลข่าวสาร ที่ขัดต่อระเบียบกฎหมายของประเทศนั้นๆ เขาก็สามารถหาตัวคนผิดได้จากเจ้า IP Address นี่แหละค่ะซึ่งหากเมื่อใดที่เราต้องการติดต่อกับคอมพิวเตอร์เครื่องใด หรือต้องการเข้าไปดูข้อมูลข่าวสาร จากคอมพิวเตอร์หรือเว็บไซต์ใด เราก็สามารถใช้เลข IP Address เพื่อติดต่อสื่อสารกับเครื่องนั้นๆ ได้ แต่เราต้องจำให้ได้นะค่ะ ว่าคอมพิวเตอร์ที่เราต้องการติดต่อ เชื่อมต่อเข้าเครือข่ายอินเตอร์เน็ตใหม และเลขไอพีแอดเดรสของเครื่องนั้นๆ คืออะไรด้วยนะค่ะ ซึ่งอาจจะจำยากสักหน่อย แต่เดี๋ยวนี้ไม่มีใครเขาจำหรอกค่ะ เพราะมีวิธีการที่ง่ายกว่าเยอะ นั่นก็คือการใช้โดเมนเนม (Domain Name) นั่นเองรู้จัก Domain Nameถึงแม้ว่าไอพีแอดเดรสจะสามารถอ้างอิงไปยัง คอมพิวเตอร์เครื่องใดๆ ก็ได้ในโลกของอินเตอร์เน็ต แต่ก็จำได้ยากเนื่องจากเป็นตัวเลขล้วนๆ จึงได้มีการออกแบบให้ใช้ชื่อแทนไอพีแอดเดรส เพื่อสะดวกในการจดจำ เราเรียกชื่อเหล่านี้ว่า โดเมนเนม (Domain Name) ซึ่งแปลตรงๆ คือ ชื่อโดเมน นั่นเอง ยกตัวอย่างเช่นhttp://www.pchompoo.com ซึ่งทั้งหมดนี้เราเรียกว่า URL ส่วนที่เรียกว่าโดเมนเนมก็คือ pchompoo.com ส่วน http://www คือส่วนที่แสดงให้เรารู้ว่า เราใช้บริการรูปแบบใดบนระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ซึ่งตรงนี้จะเป็นบริการข่าวสารผ่านทางหน้าเอกสารอินเตอร์เน็ต (Webpage) ซึ่งมีรูปแบบเหมือนกับสื่อสิ่งพิมพ์อื่นๆ แต่มีรูปแบบ ลูกเล่นที่หลากหลายกว่าเยอะค่ะ ซึ่งส่วนใหญ่เราจะใช้บริการ WWW เป็นส่วนใหญ่นะค่ะส่วนอื่นก็จะมีที่ใช้บริการถ่ายโอนข้อมูล (FTP) ,e-mail, IRC (chat)

2. สำหรับส่วนตอท้ายสุดคือ .com คนส่วนใหญ่มักจะเรียกว่านามสกุลฉันก็ว่าน่าจะใช่ เพราะมันจะเป็นตัวบอกให้รู้ถึงประเภทของ เว็บไซต์นั้นๆ ว่ามีลักษณะอย่างไร พอจะสรุปให้ฟังได้ดังนี้ครับนามสกุลโดเมนของเว็บไซต์ทั่วไป
.com คือ ลักษณะประเภทของเว็บไซต์ภาคเอกชน ธุรกิจ
.net คือ ลักษณะประเภทของเว็บไซต์ขององค์กรที่ให้บริการด้านเครือข่าย เช่น ISP
.org คือ ลักษณะประเภทของเว็บไซต์ขององค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไรต่างๆ
.gov คือ ลักษณะประเภทของเว็บไซต์ของภาครัฐบาลซึ่งนามสกุลโดมเนมที่ยกตัวอย่าง มักเป็นองค์กรที่จดทะเบียนโดเมนเนมไว้ในประเทศสหรัฐอเมริกา ส่วนโดเมนเนมที่ตั้งอยู่ในประเทศอื่นๆ นอกเหนือจากสหรัฐอเมริกาจะมีตัวย่อเพิ่มขึ้นมาอีกชุดหนึ่ง เช่น .co.th , .ac.th เป็นต้น ซึ่งนามสกุลโดเมนเหล่านี้จะถูกจดทะเบียนในประเทศไทย (th)
.co.th คือ ลักษณะประเภทของเว็บไซต์ของภาคเอกชนในประเทศไทย
.ac.th คือ ลักษณะประเภทของเว็บไซต์ของสถาบันการศึกษาในประเทศไทย เป็นต้น
ตำแหน่งอ้างอิงบนอินเตอร์เน็ต (URL)โดเมนเนมและไอพีแอดเดรสสามารถอ้างอิงเว็บไซต์ได้ทั่วโลก แต่ในกรณีที่เราจะอ้างอิงเว็บเพจ หรืออ้างอิงหน้าใดๆ บนเว็บไซต์ เราต้องใช้ URL ซึ่งเป็นสิ่งที่เราจะต้องใส่ในช่อง Address ของ Browser ซึ่ง url มีส่วนประกอบดังต่อไปนี้http://www.pchompoo.com/contact.htmส่วนของ http://www. เป็นส่วนของบริการที่เรากำลังใช้อยู่ โดยตัวอย่างนี้เป็นบริการด้านข้อมูลข่าวสาร ซึ่งก็คือบริการ WWW นั่นเองส่วนของ pchompoo.com เป็นส่วนของโดเมนเนมของเว็บไซต์นั้นๆส่วนของ /contact.htm เป็นส่วนของเว็บเพจที่เราจำเพาะเจาะจงให้เปิดขึ้นมาทั้งหมดนี้เรียกรวมๆ ว่า URL (Uniform Resource Locator) ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ใช้อ้างอิงเว็บเพจต่างๆ ในอินเตอร์เน็ต ไม่ว่าจะใช้บริการใดหรือเว็บเพจอยู่ที่ใดในโลกคงพอจะทำให้ท่านมีความรู้เพิ่มเติมบ้างนะค่ะ

3. กรณีจดทะเบียน .com , .org , .net, biz, .info, เอกสารที่ต้องใช้คือ บัตรประจำตัวประชาชน ยืนยันความเป็นเจ้าของโดเมน
กรณีจดทะเบียนของไทย .TH
>> .CO.TH สามารถพิจารณาเอกสารประกอบได้เป็น 2 แบบ
แบบที่หนึ่ง คือ จดทะเบียนโดเมนเนมโดยพิจารณาจากชื่อบริษัท ชื่อโดเมนเนมจำเป็นต้องสอดคล้อง, เป็นส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือย่อมากจากชื่อบริษัทได้ หนึ่งบริษัทสามารถจดทะเบียนโดเมนเนมได้เพียง 1 ชื่อเท่านั้น เว้นแต่มีการจดชื่อเครื่องหมายการค้าไว้ อีกชื่อหนึ่ง จึงจะสามารถยื่นจดชื่อเครื่องหมายการค้านั้น ๆ ได้เอกสาร : หนังสือรับรองบริษัท, ใบภ.พ.20 (ภาษีมูลค่าเพิ่ม) หรือใบท.ค.0401 (ทะเบียนการค้า)กรณี บริษัทในต่างประเทศ จะต้องมีตัวแทนที่จดทะเบียนบริษัทในประเทศไทย ใช้เอกสารประกอบดังนี้
1.หนังสือรับรองบริษัทต่างประเทศ 2.หนังสือรับรองบริษัทตัวแทนที่จดทะเบียนบริษัทในประเทศไทย3.หนังสือรับรองที่รับรองโดยบริษัทต่างประเทศ ซึ่งมีใจความสำคัญ 2 ใจความ
รับรองบริษัทที่จดทะเบียนในประเทศไทยเป็นบริษัทตัวแทน
รับรองการอนุญาตใช้ชื่อองค์กรต่างประเทศในการจดทะเบียนโดเมนเนม ในชื่อ .CO.TH

แบบที่สอง คือ จดทะเบียนโดเมนเนมโดยพิจารณาจากเครื่องหมายการค้า/เครื่องหมายบริการ ชื่อโดเมนเนมจำเป็นต้องตรงกับเครื่องหมายการค้า/เครื่องหมายบริการทุกตัวอักษร เครื่องหมายการค้า/เครื่องหมายบริการจำเป็นต้องถูกจดทะเบียนและประกาศรับรองโดย กรมทรัพย์สินทางปัญญา ประเทศไทยเอกสาร : หนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า หรือ หนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนเครื่องหมายบริการ
ตัวอย่างแบบฟอร์ม เอกสาร
หนังสือรับรองการจดโดเมน.CO.TH
หนังสือรับรองการจดโดเมน.CO.TH(บริคณห์สนธิ)
หนังสือรับรองการจดโดเมน.CO.TH(ภ.พ.01)
หนังสือรับรองการจดโดเมน.CO.TH(ภ.พ.09)
หนังสือรับรองการจดโดเมน.CO.TH(ภ.พ.20)
>> .AC.TH เอกสารที่สามารถใช้อ้างอิงการการจดทะเบียนโดเมนเนมภายใต้ .AC.TH กรณีที่ไม่สามารถแสดงหนังสือจัดตั้งโรงเรียนได้นั้น รบกวนทางโรงเรียนออกหนังสือรับรอง หน่วยงานที่สังกัด ที่ตั้งของโรงเรียน และรับรองการขอจดทะเบียนโดเมนเนม พร้อมทั้งประทับตราและเซ็นต์รับรองโดย ท่านผู้อำนวยการของทางโรงเรียนเงื่อนไขในการจดโดเมน .AC.TH 1. ชื่อโดเมนเนมจำเป็นต้องสอดคล้อง, เป็นส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือย่อมากจากชื่อองค์กรได้ 2. หนึ่งองค์กรสามารถจดทะเบียนโดเมนเนมได้เพียง 1 ชื่อเท่านั้นเอกสาร : หนังสือจัดตั้งโรงเรียน และเอกสารอนุญาติการจดโดเมน .AC.TH จากผู้บริหาร
ตัวอย่างแบบฟอร์ม เอกสาร
หนังสือรับรองการจัดตั้งโรงเรียน
หนังสือรับรองการจดโดเมน .AC.TH
>> .GO.TH เอกสารประกอบการยื่นจดคือ หนังสือที่ทางหน่วยงานแจ้งชื่อโดเมนเนม .go.th ให้ทาง ผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูง (Chief Information Officer : CIO) ของกระทรวง/กรมต้นสังกัด รับทราบ
ตัวอย่างแบบฟอร์ม เอกสาร
หนังสือรับรองการจดโดเมน.GO.TH
หนังสือรับรองการจดโดเมน.GO.TH(CIO)
>> .IN.TH เอกสารที่ใช้ประกอบการจดทะเบียนโดเมนเนมภายใต้ .IN.TH
กรณีจดในนามนิติบุคคล หนังสือรับรองบริษัท, ใบภ.พ.20 (ภาษีมูลค่าเพิ่ม), ใบท.ค.0401 (ทะเบียนการค้า) หรือ หนังสือรับรององค์กร/club/group
กรณีจดในนามบุคคล สำเนาบัตรประชาชน, สำเนาใบขับขี่ หรือ หนังสืออนุญาตประกอบอาชีพของคนต่างด้าว
>> .MI.TH เอกสารที่ต้องใช้คือ หนังสือรับรองจาก กรมการสนเทศทหาร กองบัญชาการทหารสูงสุด ว่าอนุญาตให้หน่วยงาน/องค์กรของท่าน จดทะเบียนโดเมนเนมภายใต้ .mi.th ได้ สำหรับแบบฟอร์มและวิธีการขอหนังสือรับรองจาก กรมการสนเทศทหาร กองบัญชาการทหารสูงสุด ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่
http://web.schq.mi.th/mi.th
ตัวอย่างแบบฟอร์ม เอกสาร
หนังสือรับรองการจดโดเมน.MI.TH
>> .NET.TH เอกสารที่ต้องใช้คือ ใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมทั้ง 3 แบบ ตาม พระราชบัญญัติ การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๔๔
ตัวอย่างแบบฟอร์ม เอกสาร
หนังสือรับรองการจดโดเมน.NET.TH
>> .OR.TH เอกสารที่ต้องใช้คือ หนังสือจัดตั้งองค์กร เช่น หนังสือจัดตั้งสมาคม หรือ หนังสือจัดตั้งมูลนิธิ เป็นต้น กรณีที่ไม่สามารถแสดงหนังสือจัดตั้งองค์กรได้นั้น รบกวนแสดงหนังสือซึ่งประกอบด้วย ประธาน, คณะกรรมการ, จุดประสงค์ที่เด่นชัด, ที่อยู่ที่แน่นอน และมีหน่วยงานที่เป็นที่รู้จักรับรองว่า มีหน่วยงานของท่านอยู่จริงตัวอย่างแบบฟอร์ม เอกสาร

4. หลักการตั้งชื่อโดเมนเนม
โดเมนเนมหรือชื่อโดเมนนั้น เกิดขึ้นมาด้วยวัตถุประสงค์ในการที่จะให้ผู้ที่ ใช้งานคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในเครือข่ายสามารถที่จะเข้าถึงหรือเรียกไปยังโฮสต์ ที่ต้องการได้โดยใช้ชื่อที่สามารถจดจำได้ง่ายแทนที่จะเป็นชุดของตัวเลข ซึ่งยากแก่การจดจำและไม่สะดวกที่จะพูด และเนื่องจากโดเมนเนมถูกจดมากขึ้น ทุกๆ วัน กว่า 40,000 ชื่อ ดังนั้นการที่จะหาชื่อโดเมนเนมดีๆ สักชื่อก็ยากตามไปด้วย กฎ 5 ข้อตรงนี้ จะช่วยคุณหาชื่อใหม่ที่ดีได้ง่ายๆ แต่ก็ต้องจำไว้ด้วยว่าชื่อใหม่ของคุณนี้อาจจะไม่ฮ็อตติดปากชาวเน็ตก็ได้ แม้ว่าคุณจะทำตามกฎทุกๆ ข้ออย่างพิถีพิถันแล้วก็ตาม
1.หลีกเลี่ยงสำนวนหรือคำพ้อง
ชื่อหรือคำพูดตลกๆ อ่านจะฟังดูน่าสนใจถ้าคุณได้ยินเป็นครั้งแรก จากเพื่อน หรือในวงเหล้า และอาจจะยังให้ความรู้สึกดีๆอยู่ ถ้าคุณได้เห็น หรือได้ยินเป็นครั้งที่สอง ตอนนั่งรถ TAXI กลับบ้าน แต่เรื่องตลก เรื่องเดียวกันจะทำให้คุณรู้สึกแย่เอามากๆ ถ้าไปถึงที่ทำงานเช้าวันรุ่งขึ้น แล้วได้ยินมันอีก แล้วมันก็จะแย่ลงเรื่อยๆ… เพราะเสียงของมัน จะตามมา หลอกหลอนคุณไปไม่รู้จบ ตราบเท่าที่คุณยังจำมันได้ โดเมนเนมหลายชื่อ โด่งดังมาจากการตั้งชื่อ โดยใช้คำพ้องต่างๆ เช่น "2" แทน "TO" หรือ "4" แทน "FOR" หรืออาจเป็น "U" แทน "YOU" ขณะเดียวกัน ก็มีโดเมนเนม อีกเป็นโหลๆ ที่กำลังแปรขบวนดาหน้าเข้ามาแข่งขันในสนามเดียวกัน
2.ถ้าจะลงทุน ก็ขอให้คิดอย่างนักลงทุน
ชื่อโดเมนเนมที่จะประสบความสำเร็จ จะมีคุณสมบัติที่สามารถแยก ตัวเองออกมาให้โดดเด่น และแตกต่างจากโดเมนเนมอื่นๆ ที่อยู่รายล้อม ก่อนที่จะ ประกาศตัวออกสู่ความยิ่งใหญ่บนโลกอินเตอร์เน็ต แนวทางที่ดี ที่จะช่วยให้คุณ สามารถสร้างเอกลักษณ์ให้กับชื่อใหม่ของคุณ มีดังนี้ - มองกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย - ตามกระแส.. หรือไม่ก็สร้างกระแสมันซะเลย - ทำตามความคิดของคุณ
3.ถ้าจะต้องจด ก็ต้องเลือกให้หมด
กฎข้อนี้มีไว้สำหรับนักลงทุนที่มีสายป่านค่อนข้างยาวเท่านั้น ที่เหลือไม่ขอแนะนำ ให้ข้ามไปอ่านข้อต่อไปได้เลยค่ะ..
คุณต้องตรวจสอบว่าชื่อโดเมนเนมของคุณสามารถใช้ได้ ทั้งลักษณะของเอกพจน์และพหูพจน์หรือไม่ ซึ่งถ้าหากจะต้องมีทั้งเติม "S" และไม่เติม "S" คุณก็จะต้องจดทั้ง 2 ชื่อ ต่อมาก็จะต้องดูว่าชื่อของคุณมีหลายพยางค์ หรือเปล่า ซึ่งถ้ามีก็ต้องจดเป็นแบบที่มี "-" คั่นด้วย (ถ้ายังจำกันได้ Mark&Spencer เคย suffer มาแล้ว จากการจดชื่อ mark-and-spencer.com โดยลืมจดชื่อ markandspencer.com ทำให้ถูกพวก squatter ไปจดมาขายจนมีคดีฟ้องร้องกันมาแล้ว) ใช้พจนานุกรม และความคิดของคุณอีกเล็กน้อย ลองหาคำอื่นที่มีความหมายเหมือนกัน ซึ่งถ้าเอามาใช้แทนก็จะ work ได้ เช่น ถ้าคุณจดคำว่า "money" ไว้แล้ว ก็น่าจะลองพิจารณาคำว่า "cash" "credit" หรือ " finance" ดูที่แนะนำมาทั้งหมดนี้ ก็เพื่อป้องกันพวก squatter น่ะค่ะ เพราะมีคดีความกันมามาก ซึ่งคุณก็จะต้องสู้อย่างถวายหัวใช้มั๊ยครับ ถ้าหากมีใครจดชื่อเว็บไซต์คล้ายๆ คุณแล้วเอามาใช้ผิดที่ผิดทางให้เกิด ความเข้าใจผิด (whitehouse.com ถูกจดมาทำเป็นเว็บไซต์ลามก นี่เป็นคดีตัวอย่างเลย แม้ว่าจะเป็นคนละชื่อกับ whitehouse.gov ของทำเนียบขาวก็เถอะ แต่คุณเองก็คงเห็นเหมือนกันว่าจนถึงตอนนี้เว็บนี้ก็ยังอยู่) คุณเองก็คงไม่อยากเสียเงินเสียทองและเสียเวลาไปขึ้นโรงขึ้นศาล ไหนจะเรื่องการสร้างชื่อเสียงคืนมาอีก ดังนั้นถ้าพอมีสตางค์ก็ ล้อมคอกเถอะค่ะ.. ก่อนที่วัวจะหาย....
4.อย่าทำให้คนอื่นเดือดร้อน squatter หลายคนร่ำรวยจากการมองหาชื่อที่คล้ายคลึงกับโดเมนเนมดังๆหรือถ้ามีคนจดชื่อ .com ไปแล้วก็จะไปจด .net และ .org หรือแม้แต่ sub-domain อื่นๆ ในประเทศที่ธุรกิจนั้นทำอยู่ กฎข้อนี้ไม่มีอะไรนอกไปจากต้องการจะเตือนคุณที่บางครั้งอาจมองเห็นโอกาสจากชื่อโดเมนเนมของคนอื่น มองข้ามมันไปเถอะ มันไม่คุ้มที่จะทำหรอกค่ะ

5.อย่ารีบร้อน แต่ก็อย่านอนใจ อย่ารีบร้อนที่จะจดชื่อแรกที่คุณคิดขึ้นมาได้ ลองมองหาชื่ออื่น แล้วหาเวลาคุยหรือถามความเห็นจากเพื่อน หรือคนใกล้ตัวของคุณ แม้ว่าชื่อที่คุณตั้งใจจะจดจะมีโอกาสที่จะถูกจดไปก่อน แต่มันคุ้มค่า กับเงินที่คุณจะต้องจ่ายไป หากคิดที่จะเปลี่ยนมาใช้ชื่อใหม่ในภายหลัง ซึ่งชื่อเดิมของคุณก็อาจจะไม่เหลือค่าอะไรนอกจากเป็นหนี้ชิ้นนึง ที่คุณต้องจ่าย แต่ขณะเดียวกันก็อย่าจมอยู่กับความคิดดีๆ ตลอดไป เพราะบนโลกอินเตอร์เน็ต.. เวลามีค่าที่สุด!!...

5.คำถามง่ายๆๆ
ข้อที่ 1 โดเมนและเรนจ์ของ y = 3x^2+6x-5 คืออะไร
1.โดเมน x>-8เรนจ์ ทุกจำนวนจริง
2.โดเมน ทุกจำนวนจริงเรนจ์ y>=-8
3.โดเมน x>-8เรนจ์ y>=-8
4.โดเมน ทุกจำนวนจริงเรนจ์ y>-8

เฉลย ตัวเลือกที่ 2 กราฟกำลัง 1 2 3 4 .... มีช่วงของค่า x ทุกช่วงดังนั้น โดเมนคือ ทุกจำนวนจริงกราฟ ที่เป็นโจทย์นี้เป็นกำลัง 2 จึงมีค่าสูงสุดหรือต่ำสุดกราฟนี้มีค่าต่ำสุด ที่ y=-8ดังนั้นเรนจ์คือ y>=-8

ข้อที่ 2 โดเมนเรนจ์1.doc(December 24, 2007 10:02)
1.โดเมน x>= -5เรนจ์ ทุกจำนวนจริง
2.โดเมน x<=-5 x>=3เรนจ์ y>=0
3.โดเมน x<=-3 x>=5เรนจ์ y>=0
4.โดเมนเรนจ์ ทุกจำนวนจริง

เฉลย ตัวเลือกที่ 2

ไม่มีความคิดเห็น: